กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วัตถุประสงค์และขอบเขต
การทบทวนความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศของเมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ได้มีการกำหนดกรอบการทำงานสำหรับการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยงและความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท (CSG)
โดยเป็นการสรุปวิธีการที่มุ่งเน้นไปยังผลกระทบระยะกลาง ผลกระทบระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและนโยบายสภาพภูมิอากาศ การประเมินความเสี่ยงก่อนหน้านี้ และความจำเป็นในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศเพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งที่สำคัญ คือ จะต้องไม่เพียงแค่ให้ความสำคัญกับอนาคตอันใกล้ ซึ่งเป็นขอบเขตของการประเมินความเสี่ยงส่วนใหญ่เท่านั้น แต่ยังต้องให้ความใส่ใจในการให้ความสำคัญกับปัญหาในระยะกลางและระยะยาวด้วย จึงเป็นสาเหตุที่บริษัทจำเป็นต้องปรับกรอบการประเมินความเสี่ยงด้านการจัดการความเสี่ยงขององค์กร (ERM)
เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เป็นยา และผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในหลากหลายประเภท และยังจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากผู้ผลิตภายนอกด้วย ดังนั้น บริษัทจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวเนื่องกับโซ่อุปทานที่มีการพัฒนา/ซับซ้อนขึ้น
บริษัทมีความประสงค์ที่จะพัฒนากลยุทธ์ที่ครอบคลุมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่างๆ ซึ่งรวมถึง:
การประเมินความเสี่ยงนี้ได้ดำเนินการตามแนวทางของ Australian Greenhouse Office (AGO, 2006), ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการความเสี่ยง – คำแนะนำสำหรับธุรกิจและภาครัฐ
โดยวิธีการนี้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 31000, การจัดการความเสี่ยง – แนวทางต่างๆ โดยมีการเพิ่มสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องในขั้นตอน “ขอบเขต บริบท และเกณฑ์มาตรฐานอย่างชัดเจน”
ความครอบคลุมและวัสดุอุปกรณ์
ความครอบคลุม
- ภูมิภาคที่ตั้งโรงงานผลิตของบริษัท สถานที่ที่ใช้เพื่อบรรจุสินค้า และคลังสินค้าของบริษัท
- ภูมิภาคที่เป็นแหล่งที่มาของส่วนประกอบสำคัญในกระบวนการผลิต หรือที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโซ่อุปทานการผลิตของบริษัท
- เขตอำนาจศาลที่การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศอาจมีผลต่อบริษัท
วัสดุอุปกรณ์
- เอกสารของบริษัทที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทาน
- รายงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สภาวะภูมิอากาศ กฎระเบียบและนโยบายด้านภูมิอากาศ และชุดสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ
- กรอบการบริหารความเสี่ยงและกระบวนการของบริษัทและคําแนะนําในการทําความเข้าใจความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับการพิจารณาในรายละเอียดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการวางแผนเชิงกลยุทธ์ในระยะแรก การวิเคราะห์นี้ได้รับการทบทวนและเพิ่มเติม โดยพิจารณาบริบทที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ
ใช้ชุดคำถามสองชุดนี้ในการตั้งคำถาม เพื่อเป็นแนวทางในการหารือ:
- ที่อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมหากบริษัทได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคือใคร? และอย่างไร? (ดูตาราง 1 เป็นตัวอย่าง)
- ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคือใคร? และส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างไร? (ดูตาราง 2 เป็นตัวอย่าง)
การนำเสนอชุดคำถามช่วยในการระบุ:
- ปัญหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้
- กลุ่มที่ไม่ได้ระบุไว้ก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการตอบสนองของบริษัท
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ผลกระทบของสภาพอากาศกาศต่อบริษัท | ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
---|---|---|
ซัพพลายเออร์ | ความต้องการใช้สาธารณูปโภค โดยเฉพาะพลังงานและน้ำเพิ่มเติมที่สูงขึ้น | อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในเครือข่ายอุปทาน |
หน่วยงานกำกับดูแล | การเปลี่ยนแปลงของเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม หรือมลพิษที่ปล่อยจากภาคการผลิต | แรงกดดันทางสังคมและการเมืองในการแก้ไขกฎระเบียบ |
ลูกค้า | ข้อจำกัดในความสามารถในการผลิตหรือ จัดจำหน่ายปริมาณสินค้าที่ต้องการ | ผลต่อสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ |
ตารางที่ 1: ตัวอย่าง-ผลกระทบของบริษัทต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ผลกระทบของสภาพอากาศกาศต่อบริษัท | ผลกระทบต่อบริษัท |
---|---|---|
ซัพพลายเออร์ | ไม่สามารถเก็บเกี่ยว เตรียม จัดหา หรือขนส่งวัตถุดิบสำคัญได้ตามคุณภาพหรือปริมาณที่ต้องการ | ข้อจำกัดในการผลิต จำเป็นต้องปรับห่วงโซ่อุปทาน |
หน่วยงานกำกับดูแล | การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม | ข้อจำกัดในการดำเนินงาน สถานที่ตั้ง และห่วงโซ่อุปทาน |
หน่วยงานกำกับดูแล | การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีผลต่อพลังงาน น้ำ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือของเสีย | ข้อจำกัดในการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรมโรงงาน |
ลูกค้า | การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโรคเนื่องจากพาหะนำโรคปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ | การเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ |
ตารางที่ 2: ตัวอย่าง – ผลกระทบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบริษัท
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ผลกระทบของสภาพอากาศต่อบริษัท | ผลกระทบต่อบริษัท |
---|---|---|
ซัพพลายเออร์ | ไม่สามารถเก็บเกี่ยว เตรียม จัดหา หรือขนส่งวัตถุดิบ สำคัญได้ตามคุณภาพหรือปริมาณที่ต้องการ | ข้อจำกัดในการผลิต จำเป็นต้องปรับห่วงโซ่อุปทาน |
หน่วยงานกำกับดูแล | การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม | ข้อจำกัดในการดำเนินงาน สถานที่ตั้ง และห่วงโซ่อุปทาน |
หน่วยงานกำกับดูแล | การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีผลต่อพลังงาน น้ำ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือของเสีย | ข้อจำกัดในการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรมโรงงาน |
ลูกค้า | การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโรคเนื่องจากพาหะนำโรคปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ | การเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ |
ผลลัพธ์
ผลกระทบโดยตรงของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อธุรกิจของบริษัท แสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบเพียงเล็กน้อยในระยะสั้นถึงระยะกลาง ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายของต้นทุนวัสดุการผลิตทางชีวภาพที่ไม่มากนัก เช่น พืชที่เป็นส่วนประกอบและการใช้พลังงานและน้ำ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เพิ่มต้นทุนของผู้ผลิตหรือสร้างแรงกดดันต่อแหล่งอุปทานแบบดั้งเดิม
กฎข้อจำกัดที่สำคัญต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังไม่ได้มีผลกับบริษัทในช่วงนั้น อย่างไรก็ตาม อาจมีการใช้กฎข้อจำกัดดังกล่าวในอนาคตระยะกลาง โดยมีการลดค่าเกณฑ์การปล่อยก๊าซในภายหลัง ผลกระทบทางอ้อมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อาจทําให้ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในระยะสั้น นอกจากนี้ ความกดดันทางสังคมและกฎระเบียบในการจัดการกับการจัดการของขยะที่เข้มงวดมากขึ้นอาจก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มในธุรกิจและอาจเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัทได้
ถึงแม้ว่าจะไม่คาดคิดถึงความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่พบว่าในบางประเด็นนั้น จำเป็นต้องมีการสำรวจเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ ซึ่งรวมถึง:
- ศักยภาพในการเพิ่มต้นทุนปัจจัยการผลิต หรือข้อจำกัดในการกำจัดน้ำและขยะมูลฝอย
- ต้นทุนของวัสดุที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมวัสดุชีวภาพ
- ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อที่อยู่อาศัยและความพร้อมใช้งานของผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เฉพาะเจาะจง
- โอกาสในการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วงที่ระบบมีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อย ค่าไฟจึงมีราคาถูกและแหล่งพลังงานทางเลือก
- รับรองว่าตามกฎระเบียบจะถือว่าผู้ประกอบกิจการร่วมค้าเป็นหน่วยงานที่อิสระต่อกันในการรายงานและควบคุมการปล่อยมลพิษ
กลยุทธ์
- ตรวจสอบต้นทุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ พลังงาน ของเสีย แรงงาน และวัตถุดิบ
- การกระจายความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทาน
- การร่วมทุน/การจัดซื้อโดยบุคคลที่สาม
- การพึ่งพาซึ่งกันและกันในห่วงโซ่อุปทาน
- การจัดการของเสีย
- ความตระหนักในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนสำหรับการจัดหาเงินทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรภายใน
- การตรวจสอบและการรายงานแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด